สำนักงานสอบสวนกลาง หรือ เอฟบีไอ (FBI) คือหน่วยงานด้านข่าวหรองและความมั่นคงภายในของมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ เป็นเป็นองค์การหลักของสหรัฐฯ ในการต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านการสืบข่าวกรอง และการสืบสวนอาชญากรรม
แต่เคยคิดหรือไม่ว่า จะเกิดอะไรขึ้น? หากเจ้าหน้าที่เอฟบีไอซึ่งควรจะรักษาความมั่นคงของสหรัฐฯ กลับเป็นฝ่ายทรยศและนำข้อมูลภายในไปมอบให้กับศัตรูเสียเอง
เรากำลังพูดถึงเรื่องราวของ “โรเบิร์ต ฟิลิป แฮนส์เซน” อดีตเจ้าหน้าที่เอฟบีไอนำข้อมูลความลับของสหรัฐฯ ไปขายให้กับสหภาพโซเวียต แลกกับเงินสดและเพชรมูลค่ารวมกว่า 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นหนึ่งในคดีเกี่ยวข้องกับสายลับที่ฉาวโฉ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา
ล่าสุดมีรายงานว่า เอฟบีไอผู้ทรยศรายนี้ ได้เสียชีวิตแล้วในเรือนจำด้วยวัย 79 ปี
เรือนจำกลางในเมืองฟลอเรนซ์ รัฐโคโลราโด รายงานว่า “วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2023 เวลาประมาณ 06.55 น. ผู้ต้องขังโรเบิร์ต แฮนส์เซน ถูกพบว่าไม่ตอบสนอง … เจ้าหน้าที่ได้ใช้มาตรการช่วยชีวิตโดยทันที และแจ้งไปยังหน่วยบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ในเวลาต่อมา เจ้าหน้าที่ EMS รายงานว่า แฮนส์เซนเสียชีวิตแล้ว”
จีนยังไปไม่ถึงฝัน? ผลผลิต “ทุเรียนจีนไห่หนาน” ปีนี้ น้อยกว่าที่คาด
“เขื่อนแตก” ในภูมิภาคเคอร์ซอน ยูเครนอ้างเป็นฝีมือรัสเซียวางระเบิด คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ความสัมพันธ์เลวร้ายหนัก! กลุ่ม “แวกเนอร์” จับกุมผู้บังคับกองพันรัสเซีย
แหล่งข่าวรายหนึ่งซึ่งไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้ บอกว่า เชื่อว่าแฮนส์เซนเสียชีวิตด้วยสาเหตุตามธรรมชาติ
สำหรับความแสบของเอฟบีไอผู้ทรยศรายนี้ มีรายงานว่า เขาเริ่มสอดแนมข้อมูลให้กับสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี 1979 หรือเพียง 3 ปีหลังจากที่เขาเข้าร่วมเอฟบีไอ และนับตั้งแต่ปี 1985 เป็นต้นมา แฮนส์เซนได้เปิดเผยข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับการรวบรวมข่าวกรองของสหรัฐฯ รวมถึงรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับวิธีที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ใช้เจาะเข้าไปในปฏิบัติการสอดแนมของรัสเซีย
เชื่อว่าแฮนส์เซนมีส่วนรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของสายลับสหรัฐฯ ในโซเวียตอย่างน้อย 3 นายซึ่งถูกประหารชีวิตหลังถูกจับได้
เขาได้รับเงินสด กองทุนธนาคาร เครื่องเพชร และนาฬิกาโรเล็กซ์ เป็นค่าตอบแทนแลกกับการให้ข้อมูลด้านความมั่นคงของชาติที่เป็นความลับระดับสูงแก่สหภาพโซเวียต (รวมถึงเมื่อโซเวียตล่มสลาย เขาก็ส่งข้อมูลให้รัสเซียในเวลาต่อมา)
เขาไม่ได้ใช้วิถีชีวิตที่ฟุ่มเฟือยจนผิดสังเกต โดยอาศัยอยู่ในบ้านเล็ก ๆ แถบชานเมืองในเวอร์จิเนียกับครอบครัวที่มีลูก 6 คน และรถที่ขับก็ไม่ใช่รถหรูอะไร เป็นเพียงฟอร์ด ทอรัส และรถมินิแวน
เจ้าหน้าที่รายงานว่า แฮนส์เซนใช้นามแฝงว่า “ราโมน การ์เซีย” ในการติดต่อกับโซเวียต โดยเขาได้ส่งเอกสารประมาณ 6,000 ฉบับและแผ่นดิสก์ข้อมูล 26 แผ่นให้กับโซเวียตและรัสเซีย
ทั้งนี้ เขาเคยเว้นช่วงจากการสอดแนมเป็นเวลา 4 ปีในช่วงทศวรรษที่ 1980 หลังจากที่ บอนนี่ ภรรยาของเขาโน้มน้าวให้เขาเลิกเป็นสายลับให้กับโซเวียต
ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ไม่มีใครทราบเลยว่า แฮนส์เซนเป็นสายลับที่เอาความลับสหรัฐฯ ไปขายให้โซเวียตและรัสเซีย กระทั่งเอฟบีไอเริ่มตรวจสอบแฮนส์เซนในปี 2000 หลังจากที่เขาถูกระบุตัวตนจากลายนิ้วมือและเทปบันทึกเสียงที่จัดทำโดยหน่วยข่าวกรองรัสเซียที่ไม่พอใจในตัวเขา ทำให้แฮนส์เซนถูกจับกุมในท้ายที่สุด
ในปี 2001 เขารับสารภาพในข้อหาจารกรรมและข้อหาอื่น ๆ รวม 15 กระทง แลกกับการไม่รับโทษประหารชีวิต และถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำกลางฟลอเรนซ์มาโดยตลอดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2002
ในจดหมายที่แฮนส์เซนเขียนถึงเจ้าหน้าที่รัสเซีย เขากล่าวว่า เขาได้รับแรงบันดาลใจในการทำเช่นนี้เมื่อสมัยเป็นวัยรุ่น จากบันทึกของ คิม ฟิลบี สายลับสองหน้าชาวอังกฤษ
หลังจากที่เขาถูกจับได้ในปี 2001 แฮนส์เซนบอกผู้สอบสวนว่า “ผมอาจเป็นสายลับที่ทำลายล้างได้ ผมคิดว่านะ แต่ผมไม่ต้องการเป็นสายลับที่ทำลายล้าง ผมแค่อยากได้เงินเล็กน้อยและออกมา”
ในระหวางการพิจารณาคดีเมื่อปี 2002 แฮนส์เซนได้ขอโทษสำหรับการกระทำของเขา “ผมรู้สึกละอาย นอกจากผิดกฎหมายแล้ว ผมได้ทำลายความเชื่อใจของคนจำนวนมาก ที่แย่กว่านั้น ผมได้เปิดประตูสู่ความหายนะให้กับภรรยาและลูก ๆ ของเราที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ผมทำร้ายพวกเขา ผมรู้เจ็บปวดมาก”
หลังจากคดีของแฮนส์เซน เอฟบีไอได้เดินหน้าเสริมความแข็งแกร่งให้กับ “โครงการป้องกันการคุกคามจากภายใน” ที่มุ่งปกป้องความลับของประเทศโดยการตรวจสอบการเงินและการเดินทางของบุคลากรเอฟบีไอด้วยกันเองอย่างใกล้ชิด และเพิ่มการใช้เครื่องจับเท็จเพื่อประเมินความภักดีของเจ้าหน้าที่เป็นประจำ
เรื่องราวของแฮนส์เซนนี้เคยถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง Breach ในปี 2007
เรียบเรียงจาก CNN / The Guardian
ภาพจาก AFP