ในจักรวาลอันกว้างใหญ่ เรื่องของ “การระเบิด” นั้นถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ปกติ ไม่ว่าจะเป็นซูเปอร์โนวา ที่เกิดขึ้นเมื่อดาวฤกษ์ยุบตัว หรือกิโลโนวา ที่เกิดขึ้นเมื่อดาวนิวตรอน 2 ดวงชนกัน ซึ่งการระเบิดเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตการณ์เห็นได้จากโลก
ล่าสุด นักดาราศาสตร์สามารถจับภาพ “การระเบิดในอวกาศครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยเห็นมา” เอาไว้ได้ หลังใช้เวลาศึกษาและสังเกตการณ์นานกว่า 3 ปี
“ดาวเสาร์” ทวงคืนบัลลังก์ ดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์มากสุดในระบบสุริยะ
เจมส์ เว็บบ์ เผยภาพ “แถบฝุ่น” สวยงาม รอบดาวฤกษ์ “โฟมาเลาต์”
“การระเบิดที่สมบูรณ์แบบ” ชมภาพ “กิโลโนวา” ทรงกลมสุดหายาก
จุดเริ่มต้นของการค้บพบนี้เป็นเพียงร่องรอยการสั่นไหวที่ไม่ธรรมดาในท้องฟ้าคืนหนึ่ง แต่การสังเกตอย่างใกล้ชิดเผยให้เห็นการระเบิดขนาดใหญ่ที่อยู่ห่างออกไป 8 พันล้านปีแสง แต่กลับมีความสว่างกว่าซูเปอร์โนวาทั่วไปถึง 10 เท่า และจนถึงขณะนี้ก็กินเวลานานกว่า 3 ปีแล้ว ทำให้เป็นการระเบิดที่มีพลังมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
ดร. ฟิลิป ไวส์แมน นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตัน ซึ่งเป็นผู้นำการสำรวจครั้งนี้ กล่าวว่า “ไม่มีใครสังเกตเห็นเลยเป็นเวลาหนึ่งปีในขณะที่มันค่อย ๆ สว่างขึ้น”
เขาเสริมว่า “เราประเมินว่ามันเป็นลูกไฟที่มีขนาด 100 เท่าของระบบสุริยะ และมีความสว่างประมาณ 2 พันล้านเท่าของดวงอาทิตย์ ..คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ในสามปีที่ผ่านมา เหตุการณ์นี้ยังได้ปลดปล่อยพลังงานออกมาประมาณ 100 เท่าของดวงอาทิตย์ในช่วงชีวิต 1 หมื่นล้านปี”
นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อการระเบิดนี้เป็นรหัสว่า AT2021lwx และเชื่อว่าการระเบิดนี้เป็นผลมาจากเมฆก๊าซจำนวนมหาศาล ซึ่งอาจใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเราหลายพันเท่า พุ่งเข้าสู่ปากหลุมดำมวลมหาศาล
เมฆก๊าซดังกล่าวอาจมีต้นกำเนิดมาจากวัตถุเหมือน “โดนัท” ที่เต็มไปด้วยฝุ่นขนาดใหญ่ ซึ่งโดยทั่วไปจะล้อมรอบหลุมดำ แม้ว่าจะไม่ชัดเจนว่าอะไรทำให้มันหลุดออกจากวงโคจรและตกลงสู่หลุมดำ
AT2021lwx ไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่สว่างที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา การระเบิดที่สว่างที่สุดหรือการปะทุของรังสีแกมม่าเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งรู้จักกันในชื่อ GRB 221009A แต่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาที ในทางตรงกันข้าม การระเบิด AT2021lwx ยังคงดำเนินอยู่ ทำลายการปลดปล่อยพลังงานโดยรวมนั้นมหาศาลกว่ามาก
การระเบิดนี้ถูกตรวจพบครั้งแรกในปี 2020 โดย Zwicky Transient Facility ในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งทำการสำรวจท้องฟ้ายามค่ำคืนเพื่อหาแสงสว่างที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ซึ่งอาจส่งสัญญาณเหตุการณ์ในจักรวาล เช่น ซูเปอร์โนวา หรือการเคลื่อนผ่านของดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง
ในตอนแรกเหตุการณ์นี้ไม่โดดเด่นนัก แต่เมื่อสังเกตการณ์ไปเรื่อย ๆ จนสามารถคำนวณระยะทางได้ นักดาราศาสตร์ก็ตระหนักว่า พวกเขาได้จับภาพเหตุการณ์ที่หายากอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ตอนนั้นพวกเขายังไม่ทราบว่าการระเบิดนี้เกิดจากอะไร
นักดาราศาสตร์ประเมินว่า การระเบิดนี้ไม่น่าใช่ซูเปอร์โนวา ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงหันไปพิจารณาหาว่ามีสถานการณ์ใดบ้างที่จะทำให้เกิดแสงวาบจ้าบนท้องฟ้ายามค่ำคืน และพบว่าน่าจะเป็น “Tidal Disruption Event” หรือการที่วัตถุ โดยเฉพาะดาวฤกษ์ ถูกดูดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ของหลุมดำและเปล่งแสงวาบออกมา
แต่การจำลองพบว่า การระเบิดระดับนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อดาวฤกษ์ที่ถูกดูดเข้าไปมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 15 เท่า ซึ่งไวส์แมนบอกว่า “การพบดาวฤกษ์ขนาดใหญ่เช่นนี้เป็นเรื่องที่หายากมาก ดังนั้นเราจึงคิดว่าน่าจะเป็นเมฆก๊าซที่ใหญ่กว่านั้นมากกว่า”
เรียบเรียงจาก The Guardian
ภาพจาก John Paice