สำนักงานสอบสวนกลาง หรือ เอฟบีไอ (FBI) คือหน่วยงานด้านข่าวหรองและความมั่นคงภายในของมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ เป็นเป็นองค์การหลักของสหรัฐฯ ในการต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านการสืบข่าวกรอง และการสืบสวนอาชญากรรม

แต่เคยคิดหรือไม่ว่า จะเกิดอะไรขึ้น? หากเจ้าหน้าที่เอฟบีไอซึ่งควรจะรักษาความมั่นคงของสหรัฐฯ กลับเป็นฝ่ายทรยศและนำข้อมูลภายในไปมอบให้กับศัตรูเสียเอง

เรากำลังพูดถึงเรื่องราวของ “โรเบิร์ต ฟิลิป แฮนส์เซน” อดีตเจ้าหน้าที่เอฟบีไอนำข้อมูลความลับของสหรัฐฯ ไปขายให้กับสหภาพโซเวียต แลกกับเงินสดและเพชรมูลค่ารวมกว่า 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นหนึ่งในคดีเกี่ยวข้องกับสายลับที่ฉาวโฉ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา

ล่าสุดมีรายงานว่า เอฟบีไอผู้ทรยศรายนี้ ได้เสียชีวิตแล้วในเรือนจำด้วยวัย 79 ปี

เรือนจำกลางในเมืองฟลอเรนซ์ รัฐโคโลราโด รายงานว่า “วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2023 เวลาประมาณ 06.55 น. ผู้ต้องขังโรเบิร์ต แฮนส์เซน ถูกพบว่าไม่ตอบสนอง … เจ้าหน้าที่ได้ใช้มาตรการช่วยชีวิตโดยทันที และแจ้งไปยังหน่วยบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ในเวลาต่อมา เจ้าหน้าที่ EMS รายงานว่า แฮนส์เซนเสียชีวิตแล้ว”

จีนยังไปไม่ถึงฝัน? ผลผลิต “ทุเรียนจีนไห่หนาน” ปีนี้ น้อยกว่าที่คาด

“เขื่อนแตก” ในภูมิภาคเคอร์ซอน ยูเครนอ้างเป็นฝีมือรัสเซียวางระเบิด คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ความสัมพันธ์เลวร้ายหนัก! กลุ่ม “แวกเนอร์” จับกุมผู้บังคับกองพันรัสเซีย

 เอฟบีไอผู้ทรยศ “โรเบิร์ต แฮนส์เซน” เสียชีวิตแล้วในเรือนจำ

แหล่งข่าวรายหนึ่งซึ่งไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้ บอกว่า เชื่อว่าแฮนส์เซนเสียชีวิตด้วยสาเหตุตามธรรมชาติ

สำหรับความแสบของเอฟบีไอผู้ทรยศรายนี้ มีรายงานว่า เขาเริ่มสอดแนมข้อมูลให้กับสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี 1979 หรือเพียง 3 ปีหลังจากที่เขาเข้าร่วมเอฟบีไอ และนับตั้งแต่ปี 1985 เป็นต้นมา แฮนส์เซนได้เปิดเผยข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับการรวบรวมข่าวกรองของสหรัฐฯ รวมถึงรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับวิธีที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ใช้เจาะเข้าไปในปฏิบัติการสอดแนมของรัสเซีย

เชื่อว่าแฮนส์เซนมีส่วนรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของสายลับสหรัฐฯ ในโซเวียตอย่างน้อย 3 นายซึ่งถูกประหารชีวิตหลังถูกจับได้

เขาได้รับเงินสด กองทุนธนาคาร เครื่องเพชร และนาฬิกาโรเล็กซ์ เป็นค่าตอบแทนแลกกับการให้ข้อมูลด้านความมั่นคงของชาติที่เป็นความลับระดับสูงแก่สหภาพโซเวียต (รวมถึงเมื่อโซเวียตล่มสลาย เขาก็ส่งข้อมูลให้รัสเซียในเวลาต่อมา)

เขาไม่ได้ใช้วิถีชีวิตที่ฟุ่มเฟือยจนผิดสังเกต โดยอาศัยอยู่ในบ้านเล็ก ๆ แถบชานเมืองในเวอร์จิเนียกับครอบครัวที่มีลูก 6 คน และรถที่ขับก็ไม่ใช่รถหรูอะไร เป็นเพียงฟอร์ด ทอรัส และรถมินิแวน

เจ้าหน้าที่รายงานว่า แฮนส์เซนใช้นามแฝงว่า “ราโมน การ์เซีย” ในการติดต่อกับโซเวียต โดยเขาได้ส่งเอกสารประมาณ 6,000 ฉบับและแผ่นดิสก์ข้อมูล 26 แผ่นให้กับโซเวียตและรัสเซีย

ทั้งนี้ เขาเคยเว้นช่วงจากการสอดแนมเป็นเวลา 4 ปีในช่วงทศวรรษที่ 1980 หลังจากที่ บอนนี่ ภรรยาของเขาโน้มน้าวให้เขาเลิกเป็นสายลับให้กับโซเวียต

ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ไม่มีใครทราบเลยว่า แฮนส์เซนเป็นสายลับที่เอาความลับสหรัฐฯ ไปขายให้โซเวียตและรัสเซีย กระทั่งเอฟบีไอเริ่มตรวจสอบแฮนส์เซนในปี 2000 หลังจากที่เขาถูกระบุตัวตนจากลายนิ้วมือและเทปบันทึกเสียงที่จัดทำโดยหน่วยข่าวกรองรัสเซียที่ไม่พอใจในตัวเขา ทำให้แฮนส์เซนถูกจับกุมในท้ายที่สุด

ในปี 2001 เขารับสารภาพในข้อหาจารกรรมและข้อหาอื่น ๆ รวม 15 กระทง แลกกับการไม่รับโทษประหารชีวิต และถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำกลางฟลอเรนซ์มาโดยตลอดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2002

ในจดหมายที่แฮนส์เซนเขียนถึงเจ้าหน้าที่รัสเซีย เขากล่าวว่า เขาได้รับแรงบันดาลใจในการทำเช่นนี้เมื่อสมัยเป็นวัยรุ่น จากบันทึกของ คิม ฟิลบี สายลับสองหน้าชาวอังกฤษ

หลังจากที่เขาถูกจับได้ในปี 2001 แฮนส์เซนบอกผู้สอบสวนว่า “ผมอาจเป็นสายลับที่ทำลายล้างได้ ผมคิดว่านะ แต่ผมไม่ต้องการเป็นสายลับที่ทำลายล้าง ผมแค่อยากได้เงินเล็กน้อยและออกมา”

ในระหวางการพิจารณาคดีเมื่อปี 2002 แฮนส์เซนได้ขอโทษสำหรับการกระทำของเขา “ผมรู้สึกละอาย นอกจากผิดกฎหมายแล้ว ผมได้ทำลายความเชื่อใจของคนจำนวนมาก ที่แย่กว่านั้น ผมได้เปิดประตูสู่ความหายนะให้กับภรรยาและลูก ๆ ของเราที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ผมทำร้ายพวกเขา ผมรู้เจ็บปวดมาก”

หลังจากคดีของแฮนส์เซน เอฟบีไอได้เดินหน้าเสริมความแข็งแกร่งให้กับ “โครงการป้องกันการคุกคามจากภายใน” ที่มุ่งปกป้องความลับของประเทศโดยการตรวจสอบการเงินและการเดินทางของบุคลากรเอฟบีไอด้วยกันเองอย่างใกล้ชิด และเพิ่มการใช้เครื่องจับเท็จเพื่อประเมินความภักดีของเจ้าหน้าที่เป็นประจำ

เรื่องราวของแฮนส์เซนนี้เคยถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง Breach ในปี 2007

เรียบเรียงจาก CNN / The Guardian

ภาพจาก AFP

By admin