พระราชพิธีพืชมงคล ปี 2566 ปีนี้ ตรงกับ วันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2566 หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมแต่ละปี "วันพืชมงคล" จึงกำหนดวันจัดไม่ตรงกัน ทำให้ปฏิทินวันหยุดเดือนพฤษภาคม ของแต่ละปีต้องมีการปรับเปลี่ยนเสมอ

การกำหนดวันพืชมงคลแต่ละปี ทางสำนักพระราชวังจะเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ที่กำหนดวันตามฤกษ์ยามที่เหมาะสมตาม "ปฏิทินหลวง" ซึ่งเป็นระยะเวลาเหมาะสมแก่การเริ่มต้นการทำนาของปีนั้น ๆ

ปฏิทินวันหยุดเดือนพฤษภาคม 2566 วันหยุดราชการ-ธนาคาร วันไหนบ้าง

วันพืชมงคล 2566 : รัฐบาลแจก 6 พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน-ลงทะเบียนออนไลน์

วันพืชมงคล พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีมงคลของไทย

อย่างไรก็ตาม หลายคนทราบว่า "วันพืชมงคล" เป็นวันหยุดราชการ แต่แล้ววันนี้จะถือเป็นวันหยุดธนาคารด้วยหรือไม่ คำตอบคือ สำหรับธนาคารและบริษัทภาคเอกชน "วันพืชมงคล" ไม่ถือว่าเป็นวันหยุด ยังคงเปิดให้ทำงานตามปกติ เว้นแต่บริษัทนั้นๆ จะมีประกาศให้หยุดออกมาเพิ่มเติมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ แบ่งเป็น 2 พระราชพิธีรวมกัน คือ "พระราชพิธีพืชมงคล" เป็นพิธีสงฆ์ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ส่วนอีกพระราชพิธี คือ "พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ" เป็นพิธีพราหมณ์ ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลพิธีสนามหลวง ที่คุ้นตากันดี

วันพืชมงคล : ขึ้นทางด่วนฟรี 3 สายทาง 60 ด่าน

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีที่มีตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเอง เพียงเสด็จฯ ไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น

 "วันพืชมงคล 2566" ตรงกับวันไหน เช็กวันหยุด-เปิดประวัติพระราชพิธีสำคัญ

ครั้งถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จฯ ไปเป็นองค์ประธาน เหมือนกับสมัยกรุงสุโขทัย และจะทรงจำศีลเงียบ 3วัน แต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้ "เจ้าพระยาจันทกุมาร"เป็นผู้แทนพระองค์ โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์ ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา

ย้อนคำทำนาย "วันพืชมงคล" พระโคกินอะไรไปบ้าง

มาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการประกอบพระราชพิธีนี้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1แต่ผู้ทำการแรกนาเปลี่ยนเป็น "เจ้าพระยาพลเทพ" คู่กันกับการยืนชิงช้า แต่พอถึงรัชกาลที่ 3ให้ถือว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้นั้นเป็นผู้แรกนา ในสมัยรัชกาลที่ 4โปรดเกล้าฯ ห้จัดมีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่าง ๆ ทุกพิธี ดังนั้น พระราชพิธีพืชมงคล จึงได้เริ่มมีขึ้นแต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกันว่า "พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ"

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคล และบำรุงขวัญเกษตรกร กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งระยะนี้เป็นระยะเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย แต่ไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอนไว้เหมือนกับวันในพระราชพิธีอื่น ส่วนจะเป็นวันใดในเดือนหก หรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณีก็ให้จัดขึ้นในวันนั้น

การจัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้กระทำเต็มรูปบูรพประเพณี ครั้งสุดท้ายในปี 2479 เว้นไปจนกระทั่งในปี 2503 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ฟื้นฟูพระราชประเพณีนี้ขึ้นใหม่ และได้กระทำติดต่อกันมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน ด้วยเห็นว่าเป็นการรักษาพระราชประเพณีอันดีงาม มีผลในการบำรุงขวัญและจิตใจของคนไทย พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9ทรงมีพระราชกระแสให้ปรับปรุงพิธีการบางอย่างให้เหมาะสมกับยุคสมัย และได้เสด็จฯ เป็นองค์ประธานมิได้ขาด

เมื่อได้มีการฟื้นฟูพระราชประเพณีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นมาในระยะแรกนั้น "พระยาแรกนา" ได้แก่ อธิบดีกรมการข้าวโดยตำแหน่ง สำหรับเทพีทั้งสี่พิจารณาคัดเลือกจากภริยาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายหลังพระยาแรกนา ได้แก่ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยตำแหน่ง ส่วนผู้ที่มาทำหน้าที่เป็นเทพีคู่หาบทอง และคู่หาบเงินนั้น ได้ทำการพิจารณาคัดเลือกจากข้าราชการหญิงโสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีตำแหน่งตั้งแต่ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทขึ้นไป

นอกจากนี้ นับตั้งแต่ปี 2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคลนี้เป็น "วันเกษตรกร" อีกด้วย เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรพึงระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมมือกันประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาชีพของตน ทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศชาติ จึงได้จัดงาน วันเกษตรกรควบคู่ไปกับงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตลอดมา

สำหรับวันพืชมงคล ปี 2566 นี้ ผู้ทำหน้าที่ พระยาแรกนา คือ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ นางสาวดวงพร งามประดิษฐ์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ กรมวิชาการเกษตร และ นางสาวชลธิชา ทองอ่อน นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กรมปศุสัตว์ เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ นางสาวปนัดดา เปี่ยมมอญ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนางสาวภัทรปภา มินรินทร์นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการกรมส่งเสริมการเกษตรผู้เชิญเครื่องอิสริยยศ จำนวน 4 ราย คู่เคียงในกระบวนแห่อิสริยยศพระยาแรกนา จำนวน 16 ราย และ พระโคแรกนา ได้แก่ พระโคพอ-พระโคเพียง พระโคสำรอง ได้แก่ พระโคเพิ่ม และพระโคพูล

การตั้งสัตยาธิษฐานหยิบผ้านุ่งแต่งกาย (การเสี่ยงทายผ้านุ่ง)

"ผ้านุ่งแต่งกาย” ผ้านุ่งซึ่งพระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบนั้น เป็นผ้าลาย มีด้วยกัน 3ผืน คือ หกคืบ ห้าคืบ และสี่คืบ ผ้านุ่งนี้จะวางเรียงบนโตกมีผ้าคลุม เพื่อให้พระยาแรกนาขวัญหยิบ ถ้าหยิบได้ผืนใดก็จะมีคำทำนายไปตามกันคือ

  • ถ้าหยิบผ้าได้ 4คืบพยากรณ์ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่
  • ถ้าหยิบได้ผ้า 5คืบพยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
  • ถ้าหยิบได้ผ้า 6คืบพยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอน จะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่

การเสี่ยงทายของกิน 7สิ่ง

ของกิน 7สิ่งที่ตั้งเลี้ยงพระโคนั้นมี ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า ถ้าพระโคกินสิ่งใดก็จะมีคำทำนายไปตามนั้นคือ

  • ถ้าพระโคกินข้าวหรือข้าวโพดพยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี
  • ถ้าพระโคกินถั่วหรืองาพยากรณ์ว่าผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
  • ถ้าพระโคกินน้ำ หรือหญ้าพยากรณ์ว่าน้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหารภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์
  • ถ้าพระโคกินเหล้าพยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขาย กับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง

ขอบคุณข้อมูล : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

By admin